ในปัจจุบัน พบว่ามีเทอร์โมคัปเปิลมาตรฐานอยู่
7 ชนิดตามมาตรฐานของ ANSI
และ ASTM โดยการจำแนกตามประเภทของวัสดุที่ใช้ทำได้แก่
เทอร์โมคัปเปิลแบบ S
ข้อดีของแบบ
S
·
เหมาะกับการใช้งานในสภาวะที่เกิดปฏิกิริยาเคมีแบบออกซิไดซิง
(oxidizing)
·
เหมาะกับการใช้งานในสภาวะงานเฉื่อย
(inert) คืองานที่ไม่เปลี่ยนแปลงปฏิกิริยาใดๆ
ได้ง่ายๆ
·
นิยมใช้กับงานวัดตัวแปรที่มีอุณหภูมิสูง
เช่น เตาหลอมเหล็ก
·
วัดอุณหภูมิต่อเนื่องได้จากช่วง
0 ถึง 1550°C และอุณหภูมิช่วงสั้นๆ
ได้จากช่วงประมาณ -50°C
ถึงประมาณ1700°C
·
หากอยู่ภายใต้สภาวะที่เหมาะสมจะให้ความเที่ยงตรงสูงที่สุด
·
ใช้ในการสอบเทียบ
ตั้งแต่จุดแข็งตัวของแอนติโมนี (630.74°C)
จนถึงจุดแข็งตัวของทองแดง (1064.43°C) ตามมาตรฐาน
IPTS 68
ข้อเสียของแบบ
S
·
ต้องใช้ท่อป้องกันในทุกสภาวะบรรยากาศ
·
ไม่เหมาะกับงานที่มีปฏิกิริยาแบบรีดิวซิง
(reduzing)
·
ไม่เหมาะกับงานที่เป็นสูญญากาศ (vacuum)
·
ไม่เหมาะกับงานที่มีไอโลหะ
เช่น สังกะสี ตะกั่ว
·
ไม่เหมาะกับงานที่มีไอของอโลหะ
เช่น จำพวก อาเซนิก ซัลเฟอร์ ฟอสฟอรัส เพราะจะมีอายุการใช้งานสั้นลง
เทอร์โมคัปเปิลแบบ R
เป็นแบบที่เหมาะกับการวัดอุณหภูมิสูงๆ
ข้อดีของแบบ
R
·
ให้แรงเคลื่อนทางด้านเอาท์พุตสูงกว่าแบบ
S
·
วัดอุณหภูมิต่อเนื่องได้จากช่วง
0°C ถึง 1600°C
·
วัดอุณหภูมิช่วงสั้นได้จากช่วง
-50°C ถึงประมาณ 1700°C
·
เหมาะกับการวัดอุณหภูมิสูงๆ
เช่น ในเตาหลอมเหล็ก อุตสาหกรรมแก้ว
·
ทนทานต่อการกัดกร่อน
และให้เสถียรภาพของอุณหภูมิที่ดี
ข้อเสียของแบบ
R
·
ต้องใช้ท่อป้องกันในทุกสภาวะบรรยากาศ
·
ไม่เหมาะกับงานที่มีปฏิกิริยาแบบรีดิวซิง
(reduzing)
·
ไม่เหมาะกับงานที่เป็นสูญญากาศ (vacuum)
·
ไม่เหมาะกับงานที่มีไอโลหะ
เช่น สังกะสี ตะกั่ว
·
ไม่เหมาะกับงานที่มีไอของอโลหะ
เช่น จำพวก อาเซนิก ซัลเฟอร์ ฟอสฟอรัส เพราะจะมีอายุการใช้งานสั้นลง
·
ให้ความเป็นเชิงเส้นต่ำเมื่ออุณหภูมิต่ำกว่า
540°C
เทอร์โมคัปเปิลแบบ B
ข้อดีของแบบ
B
·
วัดอุณหภูมิต่อเนื่องได้จากช่วงประมาณ
100°C ถึงประมาณ 1600°C
·
วัดอุณหภูมิช่วงสั้นได้จากช่วงประมาณ
50°C ถึงประมาณ 1750°C
·
แข็งแรงกว่าแบบ
S และแบบ R
·
เหมาะกับการใช้งานในสภาวะที่มีปฏิกิริยาแบบออกซิไดซิงและสภาวะเฉื่อย
ให้ความเป็นเชิงเส้นของสัญญาณ (linearity) ดี
ข้อเสียของแบบ
B
·
ให้แรงดันไฟฟ้าน้อยกว่าแบบอื่นๆ
เมื่อวัดอุณหภูมิที่เงื่อนไขเดียวกัน
·
ไม่เหมาะกับสภาวะที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาแบบรีดิวซิง
·
ไม่เหมาะกับสภาวะที่เป็นสุญญากาศ
·
ไม่เหมาะกับสภาพงานที่มีไอของโลหะและอโลหะเช่นเดียวกับแบบ
R และ S
·
ให้ค่าแรงดันไฟฟ้าสองค่า
(double value region) จากอุณหภูมิในช่วง
0 - 42°C ทำให้ไม่สามารถทราบได้ว่าที่แรงดันไฟฟ้านั้นมีอุณหภูมิเป็นเท่าใด
เช่นที่อุณหภูมิ 0°C จะแรงเลื่อนไฟฟ้าเท่ากับ 42°C
·
ให้ความชัน
(การเปลี่ยนแปลงแรงดันต่ออุณหภูมิ)
ของสัญญาณต่ำกว่าแบบอื่น ๆ
เทอร์โมคัปเปิลแบบ J
หากใช้แพลทตินัมมาทำเป็นเทอร์โมคัปเปิลความคุ้มทุนก็ลดลงไป
ดังนั้นเพื่อที่จะทำให้เทอร์โมคัปเปิลราคาถูกลง จึงใช้วัตถุธาตุอื่นที่มีราคาถูกกว่ามาทดแทนแพลทตินัม
โดยรหัสสีตามมาตรฐาน BS มีดังนี้
ถ้าขั้วบวก จะเป็นสีดำ ขั้วลบจะเป็นสีขาว ทั้งตัวจะเป็นสีดำ
ข้อดีของแบบ
J
·
ให้อัตราการเปลี่ยนแปลงแรงดันไฟฟ้าต่ออุณหภูมิได้ดี
·
มีราคาถูกกว่าแบบที่ทำจากธาตุบริสุทธิ์
·
ตามมาตรฐาน
BS 7937 Part 30
สามารถวัดอุณหภูมิได้ต่อเนื่องจากช่วงประมาณ -210°C ถึง 1200°C
·
เหมาะกับสภาพงานที่เป็นสุญญากาศ
งานที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาออกซิไดซิง และงานที่อยู่ในสภาพเฉื่อย
เมื่ออุณหภูมิไม่เกิน 760°C
·
นิยมใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติก
·
เป็นแบบที่นิยมใช้
ราคาไม่แพง
ข้อเสียของแบบ
J
·
วัดอุณหภูมิได้ต่ำกว่าแบบ
T
·
ไม่เหมาะสมมากนักกับงานที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า
0°C
·
หากวัดที่อุณหภูมิสูงกว่า
538°C จะเกิดปฏิกิริยาออกซิไดซิงที่สายซึ่งทำจากเหล็กด้วยอัตราสูง
·
หากใช้งานนานเกินช่วง
20 ปี ส่วนผสมทางเคมี คือ
แมงกานีสในเหล็กจะเพิ่มขึ้น 0.5%
ทำให้คุณสมบัติของแรงดันไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย
เทอร์โมคัปเปิลแบบ K
เทอร์โมคัปเปิลชนิดนี้เริ่มผลิตให้เป็นมาตรฐานตั้งแต่ปี
ค.ศ. 1916 โดยพื้นฐานการผลิต
ขั้วหนึ่งจะเป็นนิกเกิลที่เจือปนด้วยอะลูมิเนียมส่วนอีกด้านที่เจือปนด้วยโครเมียม
เพราะว่าในปี ค.ศ.
1916
ยังไม่สามารถสร้างนิเกิลบริสุทธิ์ได้จึงได้เติมสารไม่บริสุทธิ์ต่าง ๆ
ในส่วนผสมของวัสดุชนิด K แต่ในปัจจุบันได้มีการระมัดระวังส่วนผสมที่จะทำให้เกิดความไม่บริสุทธิ์ดังกล่าวเพื่อเหตุผลในการบำรุงรักษาและสอบเทียบ
ข้อดีของแบบ
K
·
เป็นแบบที่นิยมใช้แพร่หลายมากที่สุด
·
สำหรับการวัดอุณหภูมิช่วงสั้นๆ
จะวัดได้จาก -180°C ถึงประมาณ 1,350°C
·
สามารถใช้วัดในงานที่มีปฏิกิริยาออกซิไดซิง
หรือสภาวะแบบเฉื่อย (inert) ได้ดีกว่าแบบอื่นๆ
·
สามารถใช้กับสภาพงานที่มีการแผ่รังสีความร้อนได้ดี
·
ให้อัตราการเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้าต่ออุณหภูมิดีกว่าแบบอื่นๆ
(ความชันเกือบเป็น 1) และมีความเป็นเชิงเส้นมากที่สุดในบรรดาเทอร์โมคัปเปิลด้วยกัน
ข้อเสียของแบบ
K
·
ไม่เหมาะกับการวัดที่ต้องสัมผัสกับปฏิกิริยารีดิวซิงและออกซิไดซิงโดยตรง
·
ไม่เหมาะกับงานที่มีไอของซัลเฟอร์
·
ไม่เหมาะกับสภาพงานที่เป็นสุญญากาศ
(ยกเว้นจะใช้ในช่วงเวลาสั้นๆ)
·
หลังการใช้งานไป
30 ปี
ทำให้ส่วนผสมทางเคมีเปลี่ยนไป เป็นผลทำให้คุณสมบัติของแรงดันไฟฟ้าเปลี่ยนไป
เทอร์โมคัปเปิลแบบ T
ข้อดีของแบบ
T
·
ดีกว่าแบบ
K ตรงที่สามารถวัดอุณหภูมิได้ต่ำกว่า
นั่นคือเหมาะกับการวัดอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งของน้ำ เช่นในห้องเย็น
ตู้แช่แข็ง
·
ให้ความแน่นอนในการวัดดีกว่าแบบ
K (ช่วงที่ต่ำกว่า 100°C ความแน่นอนจะเป็น
ชื่อ : |
*
|
อีเมล์ : |
|
 |
*
กรุณากรอกตัวเลขและตัวอักษรให้ถูกต้อง
|
|
|
|